การเป่าขลุ่ย
การจับขลุ่ยนั้นจะใช้มือไหนอยู่บนหรือล่างก็ได้ขึ้นอยู่กับความถนัดของผู้เป่า
แต่ในที่นี้จะขอให้มือซ้ายอยู่บน และมือขวาอยู่ล่างเพื่อสะดวกในการอธิบาย
ใช้นิ้วหัวแม่มือซ้ายปิดรูนิ้วค้ำซึ่งอยู่ใต้เลาขลุ่ย และใช้นิ้วชี้ปิดรูบนสุด
ตามด้วยนิ้วกลาง นิ้วนาง นิวก้อยไม่ใช้ปิด และปิดรูถัดมาด้วยนิ้วชี้มือขวา
ตามด้วยนิ้วกลาง นิ้วนาง นิ้วก้อย ตามลำดับ (ดังรูปภาพประกอบ)
การใช้นิ้วปิดรูขลุ่ยต้องปิดให้สนิทเพื่อไม่ให้ลมรั่วออกมาขณะเป่า มิฉะนั้นจะทำให้เสียงเพี้ยน หรือที่เรียกว่าเสียงบอด กล่าวคือ เสียงที่ได้จะไม่เป็นไปตามบันไดเสียง โด เร มี ... แต่จะดัง ฟู่ ฟู่ ออกมาแทน ผู้เริ่มหัดใหม่ ควรจะเลือกทำนองเพลงที่เคยได้ยินได้ฟังมาก่อน มาใช้ในการฝึก เพราะจะทำให้ผู้เป่ารู้ถึงจังหวะช้า-เร็ว และระดับเสียงสูงต่ำ ซึ่งจะทำให้การฝึกหัดนั้นง่ายขึ้น โดยมีเพลงให้เลือกฝึกมากมายอยู่ในนี้
การใช้นิ้วปิดรูขลุ่ยต้องปิดให้สนิทเพื่อไม่ให้ลมรั่วออกมาขณะเป่า มิฉะนั้นจะทำให้เสียงเพี้ยน หรือที่เรียกว่าเสียงบอด กล่าวคือ เสียงที่ได้จะไม่เป็นไปตามบันไดเสียง โด เร มี ... แต่จะดัง ฟู่ ฟู่ ออกมาแทน ผู้เริ่มหัดใหม่ ควรจะเลือกทำนองเพลงที่เคยได้ยินได้ฟังมาก่อน มาใช้ในการฝึก เพราะจะทำให้ผู้เป่ารู้ถึงจังหวะช้า-เร็ว และระดับเสียงสูงต่ำ ซึ่งจะทำให้การฝึกหัดนั้นง่ายขึ้น โดยมีเพลงให้เลือกฝึกมากมายอยู่ในนี้
เพลงไทยเดิมของเรานี้นับว่าเป้นมรดกอันล้ำค่าของเราชาวไทยชิ้นหนึ่งที่พวกเราต้องช่วยกันอนุรักษ์ไว้
เพื่อสืบทอดให้กับคนรุ่นต่อๆไปได้รู้ถึงความเจริญรุ่งเรื่องทางดนตรีของเราซึ่งมีช้านาน
การอ่านโน้ตเพลงไทย มีวิธีการอ่านเหมือนกับการอ่านหนังสือทั่วๆไป คือ อ่านจากด้านซ้ายไปขวา โน้ต 1 บรรทัดจะแบ่งเป็นช่องๆ รวม 8 ช่อง ดังนี้
การอ่านโน้ตเพลงไทย มีวิธีการอ่านเหมือนกับการอ่านหนังสือทั่วๆไป คือ อ่านจากด้านซ้ายไปขวา โน้ต 1 บรรทัดจะแบ่งเป็นช่องๆ รวม 8 ช่อง ดังนี้
_ _ _ ด
|
_ _ _ ร
|
_ _ _ ม
|
_ _ _ ฟ
|
_ _ _ ซ
|
_ _ _ ล
|
_ _ _ ท
|
_ _ _ ดํ
|
ช่องแต่ละช่องมีค่าเท่ากับ 1 จังหวะ
วิธีนับให้นับจังหวะตกที่โน้ตตัวสุดท้ายซึ่งอยู่หน้าเส้นกั้นห้องจากรูป
ให้เคาะจังหวะตกที่ตัว โด,เร,มี,ฟา,ซอล,ลา,ที,โด(สูง) รวมต้องเคาะจังหวะ 8 ครั้ง หรือ 8
จังหวะ
ทีนี้ลองเคาะจังหวะให้สม่ำสเมอพร้อมกับออกเสียงไปด้วย
แล้วลองฝึกเป่าเสียงตามโน้ตอีกที
เครื่องหมาย
_ _ ใช้เพื่อเป็นตัวเพิ่มเสียงของโน้ตตัวที่อยู่ข้างหน้าเครื่องหมายให้มีเสียงยาวขึ้น
การที่เราจะเป่าขลุ่ยให้เสียงโน้ตตัวใดตัวหนึ่งยาวเท่าไรนั้นก็ขึ้นอยู่เครื่องหมาย
_ _ ที่อยู่ข้างหลังตัวโน้ตนั้นๆ เป็นตัวบังคับความสั้นยาวของเสียง
เครื่องหมาย _
มีค่าความยาวของเสียงเท่ากับ
1/4 จังหวะ
เครื่องหมาย _ _ มีค่าความยาวของเสียงเท่ากับ 1/2 จังหวะ เครื่องหมาย _ _ _ มีค่าความยาวของเสียงเท่ากับ 3/4 จังหวะ เครื่องหมาย _ _ _ _ มีค่าความยาวของเสียงเท่ากับ 1 จังหวะ |
หรือเครื่องหมาย _ หนึ่งขีดมีค่าเท่ากับโน้ตหนึ่งตัวเช่นตัวอย่าง
_ _ _ ฟ
|
_ _ _ ซ
|
_ ล _ ท
|
_ ล _ ซ
|
อธิบายวิธีเป่า เครื่องหมายขีดสามขีดหน้าตัว ฟา เราไม่ต้องเป่า
เพราะหน้าเครื่องหมายไม่มีตัวโน้ต ให้เป่าเสียงฟาเลย
พร้อมเคาะจังหวะไปด้วยเป่าไปถึง ซอล นับเป็นหนึ่งจังหวะ และจากเสียง ซอล ถึง ลา
นับ 1/2 จังหวะ และจาก ลา ไปถึง ที นับ 1/2 จังหวะ
และจากเสียง ที ถึง ลา นับ 1/2 จังหวะ และจาก ลา ไปถึง ซอล นับ 1/2
จังหวะ
โน้ตขลุ่ยและเครื่องหมายต่างๆ
ด
ใช้แทนเสียง โด
ปกติ
ร
ใช้แทนเสียง เร
ปกติ
ม
ใช้แทนเสียง มี
ปกติ
ฟ
ใช้แทนเสียง ฟา
ปกติ
ซ
ใช้แทนเสียง ซอล
ปกติ
ล
ใช้แทนเสียง ลา
ปกติ
ท
ใช้แทนเสียง ที
ปกติ
|
ดํ
ใช้แทนเสียง โด
สูง
รํ
ใช้แทนเสียง เร
สูง
มํ
ใช้แทนเสียง มี
สูง
ฟํ
ใช้แทนเสียง ฟา
สูง
ซํ
ใช้แทนเสียง ซอล
สูง
|
ที่มา :
http://www.trsc.ac.th/web_load_st/school/ko5.html
https://www.google.co.th/search?q=%E0%B8%A7%E0%B8%B4%E0%B8%98%E0%B8%B5%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B9%80%E0%B8%9B%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%82%E0%B8%A5%E0%B8%B8%E0%B9%88%E0%B8%A2&espv=2&biw=1242&bih=567&source=lnms&tbm=isch&sa=X&ei=pX1IVMqNCoTTmgWt3oGoBA&ved=0CAcQ_AUoAg#facrc=_&imgdii=_&imgrc=65_zdjcl9LradM%253A%3B65dxDdDRf6M06M%3Bhttp%253A%252F%252Fwww.bloggang.com%252Fdata%252Ft%252Ftonkla1%252Fpicture%252F1254951233.gif%3Bhttps%253A%252F%252Fwww.gotoknow.org%252Fposts%252F386277%3B597%3B409
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น