ที่มาและประวัติของ (ขลุ่ย)


ประวัติของขลุ่ยเพียงออ 

                  ขลุ่ยเป็นเครื่องดนตรีดั้งเดิมของไทยชนิดหนึ่งแต่จะเป็นเครื่องดนตรีที่คนไทยคิดประดิษฐ์ขึ้นใช้เองหรือได้รับอิทธิพลจากชาติอื่นไม่มีหลักฐานปรากฏแน่ชัด เพราะชาติอื่นก็มีเครื่องเป่าซึ่งมีลักษณะคล้ายกับขลุ่ยของคนไทยเหมือนกัน เช่น ขลุ่ยของญี่ปุ่นเรียก ซากุฮาชิซึ่งใช้เป่า เหมือน กับ ขลุ่ยไทย ขลุ่ยของอินเดียเรียก มุราลี ส่วนของจีนก็มีก็มีขลุ่ยเช่นเดียวกัน แต่ใช้เป่าด้านข้างเรียกว่า ฮวยเต็ก ถ้าเป็นแบบที่ใช้เป่า ตรงแบบขลุ่ยไทยจะเรียกว่า โถ่งเซียแต่จะต่างกันตรงที่ขลุ่ยของจีนไม่มีดากการเป่าต้องใช้การผิวลมจึงจะเกิดเสียง 

                   ขลุ่ยโดยทั่วไป ทำจากไม้ไผ่ ซึ่งเป็นไม้ไผ่เฉพาะพันธุ์เท่านั้น ปัจจุบันนี้ไม้ไผ่ที่ทำขลุ่ยส่วนใหญ่มาจากสระบุรี และนครราชสีมา นอกจากไม้ไผ่แล้วขลุ่ยอาจทำจากงาช้าง ไม้ชิงชัน หรือไม้เนื้อแข็งอื่น ๆ และปัจจุบันมีผู้นำพลาสติก มาทำขลุ่ยกันบ้างเหมือนกัน ในเรื่อง คุณภาพนั้น ขลุ่ยที่ทำจากไม้ไผ่จะดีกว่าขลุ่ยที่ทำจากวัตถุอื่นเนื่องจากไม้ไผ่เป็นรูกระบอกโดยธรรมชาติมีผิวทั้งด้านนอก ด้านในทำให้ ลมเดินสะดวก เมื่อถูกน้ำสามารถขยายตัวได้ สัมพันธ์กับดากทำให้ไม่แตกง่าย นอกจากนี้ผิวนอกของไม้ไผ่สามารถตกแต่งลาย ให้สวยงามได้ เช่น ทำเป็นลายผ้าปูม ลายดอก ลายหิน ลายเกร็ดเต่า เป็นต้น อีกประการหนึ่งที่สำคัญคือ ไม้ไผ่มีข้อ โดยธรรมชาติ ซึ่งโดยทั่ว ๆ ไป จะเห็น ว่าส่วนปลายของขลุ่ยด้านที่ไม่ใช้เป่านั้นมีข้อติดอยู่ด้วยแต่เจาะเป็นรูสำหรับปรับเสียงของนิ้วสุดท้ายให้ ได้ระดับ ส่วนของข้อที่เหลือ จะทำหน้าที่ อุ้มลมและเสียง ให้เสียงขลุ่ยมีความกังวานไพเราะมากขึ้น ซึ่งถ้าเป็นขลุ่ยที่ทำจากวัสดุอื่นโดยการกลึง ผู้ทำอาจไม่คำนึงถึงข้อนี้อาจทำให้ขลุ่ย ด้อยคุณภาพไปได้ อีกประการหนึ่งส่วนของข้อนี้จะช่วยป้องกันมิให้ขลุ่ยแตกเมื่อสภาพของไม้หรือ อากาศมีการเปลี่ยนแปลง

                            ปัจจุบันขลุ่ยเป็นเครื่องดนตรีที่มีบทบาทสำคัญ วงดนตรีหลายประเภทจึงขาดขลุ่ยไม่ได้เลยทีเดียว เช่น วงมโหรี วงเครื่องสาย ชนิดต่างๆ วงปี่พาทย์ไม้นวม วงปี่พาทดึกดำบรรพ์ เป็นต้น เอกลักษณ์ที่สำคัญของขลุ่ยไทย คือการทำลายบนเลาขลุ่ย ให้เป็น ลวดลายต่างๆ ซึ่งการทำลายนั้นอาจมาจากใช้ความร้อนจากตะกั่วที่หลอมละลาย หรือการลนไฟ เป็นต้น เพื่อให้ขลุ่ยมีความสวยงาม มากยิ่งขึ้น เช่น ลายน้ำไหลลายหกขะเมน ลายหิน ลายผ้าปูม ลายดอกจิก เป็นต้น แต่ถ้าผิวของไม้ไผ่ที่นำมาทำขลุ่ยสวยอยู่แล้วต้อง ทำลวดลายก็ได้อาจ ไม่



ที่มา :  http://pirun.ku.ac.th/~b5411100453/hisk.html

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น